วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การใช้บริการรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้า BTS
แนวเส้นทาง

สายสุขุมวิท
 เริ่มจากบริเวณสุขุมวิท81 ผ่านถนนสุขุมวิทถนนเพลินจิตถนนพระราม 1ถนนพญาไทอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สนามเป้าสะพานควายจตุจักรไปสิ้นสุดบริเวณสถานีขนส่งสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ตลาดหมอชิต) รวมระยะทางประมาณ17 กิโลเมตรมีสถานีจำนวน 17 แห่ง รวมสถานีร่วม สำหรับเปลี่ยนสายบนถนนพระราม 1
สายสีลม เริ่มจากเชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน(สะพานสาธร) ฝั่งกรุงเทพ ฯถนนสาทร- ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ถนนเลียบคลองช่องนนทรี)ถนนสีลมถนนราชดำริ - ถนนพระราม 1 ไปสิ้นสุดบริเวณหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ6.5 กิโลเมตรมีสถานีจำนวน 7 แห่งรวมสถานีร่วม
ลักษณะของระบบ
    เป็นรถขนส่งมวลชนความจุสูงแบบมาตรฐาน ที่ใช้กันแพร่หลายในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วไป ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนวิ่งบนรางคู่ยกระดับความกว้างราง 1.435 เมตร(Standard guage)แยกทิศทางไปและกลับ
    มีรางป้อนกระแสไฟฟ้าอยู่ด้านข้าง (Third Rail System) ซึ่งมีความปลอดภัยสูงและไม่มีผลกระทบต่อทัศนียภาพระบบที่ใช้นี้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมีความคล่องตัวสูงและสามารถขยายระบบได้ มีความจุมากกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อ ทิศทาง การควบคุมใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัย เช่นระบบป้องกันการชนระบบควบคุมความเร็วเป็นต้น
      สถานี
        สถานีรับ - ส่งผู้โดยสารออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาผิวจราจรบนถนนมากที่สุดโดยทั่วไปออกแบบให้มีโครงสร้างแบบเสาเดี่ยวตั้งอยู่บนเกาะกลางถนน เช่นเดียวกับโครงสร้างทางวิ่งโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 150 เมตรมี 2 ลักษณะ คือ
          1 ) สถานีประเภทมีชานชลาอยู่สองข้าง ( Side Platform Station ) โดยรถไฟวิ่งอยู่ตรงกลางสถานี สถานีทั่วไปได้ออกแบบให้มีลักษณะแบบนี้ เนื่องจากสร้างได้รวดเร็ว และใช้เนื้อที่น้อย
          2 ) สถานีประเภทมีชานชลาอยู่ตรงกลาง( CentrePlatformStation ) รถไฟวิ่งอยู่สองข้างสถานี ชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบแรกแต่การก่อสร้างยุ่งยากกว่าเนื่องจากตัวรางต้องเบนออกจากกัน เมื่อเข้าสู่สถานี ทั้งนี้ ได้ออกแบบให้สถานีร่วมมีลักษณะแบบนี้ เนื่องจากคาดว่าจะมี ผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก
            ชนิดและวิธีการซื้อตั๋วโดยสารรถไฟฟ้า

            1. ตั๋วแบบเที่ยวเดียว(Single-JourneyTicket) ซึ่งเป็นตั๋วที่ใช้เดินทางเพียงครั้งเดียวมูลค่าของตั๋วจะเท่ากับค่าโดยสารในแต่ละเที่ยวที่เดินทาง
              2. ตั๋วแบบสะสมมูลค่า (Stored-Value Ticket) ซึ่งเป็นตั๋วที่ใช้เดินทางได้หลายครั้ง โดยมูลค่าของตั๋วจะถูกหักไปเรื่อย ๆ ตามค่าโดยสารที่เดินทางจนกว่ามูลค่าของตั๋วจะหมด ตั๋วประเภทนี้สามารถนำมาเติมมูลค่าได้อีกที่ห้องจำหน่ายตั๋ว
                วิธีการซื้อตั๋วโดยสาร
                  1. ตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (Ticket Issuing Machine : TIM ) ใช้ซื้อตั๋วแบบเที่ยวเดียวการชำระเงิน จะใช้เฉพาะเหรียญเท่านั้น
                    2. เจ้าหน้าที่ห้องจำหน่ายตั๋วให้บริการขายตั๋วแบบสะสม มูลค่าและ ให้บริการแลกเหรียญเพื่อใช้ซื้อตั๋วแบบเที่ยวเดียวจากตู้อัตโนมัติ
                      ขั้นตอนการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส
                        1. ซื้อตั๋วจากตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ หรือจากห้องจำหน่ายตั๋ว
                          2.เมื่อได้ตั๋วแล้วผู้โดยสารก็จะเดินผ่านช่องทางเข้า (Entry Gate)โดยจะต้องป้อนตั๋วผ่านเข้าประตูอัตโนมัติ เมื่อเครื่องตรวจสอบว่าตั๋วถูกต้องประตูจะเปิด และอย่าลืมรับตั๋วคืนจากเครื่องก่อนเดินเข้าประตูไป เก็บตั๋วโดยสารไว้กับตัวตลอดเวลา เพื่อใช้เป็นบัตรผ่านเมื่อถึงปลายทาง
                            3. เมื่อผู้โดยสารถึงสถานีที่ต้องการแล้ว ผู้โดยสารจะผ่านออกที่ช่องทางออก(Exit Gate) โดยป้อนตั๋วเดิมผ่านเข้าประตูอัตโนมัติ ในกรณีที่เป็นตั๋วแบบเที่ยวเดียว(Single-JourneyTicket)ที่ซื้อตรงตามราคาค่าโดยสารประตูจะเปิดออกได้เลยและเครื่องจะเก็บตั๋วคืน แต่ถ้าเป็นตั๋วแบบสะสมมูลค่า(Stored-Value Ticket) เครื่องจะทำการหักค่าโดยสารพร้อมแสดงจำนวนมูลค่าเงินที่เหลืออยู่ในตั๋วใบนั้น แล้วคืนตั๋ว ให้ก่อนเดินออกจากประตู ซึ่งตั๋วนี้สามารถเก็บไว้ใช้ครั้งต่อ ๆ ไปได้
                              เวลาเปิดบริการ
                                รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา06.00 น. -24.00 น.
                                  ข้อควรปฏิบัติในการใช้รถไฟฟ้าBTS
                                    1. ขณะรอรถไฟฟ้าบนชานชลา กรุณายืนหลังเส้นเหลือง
                                      2. กรุณาระมัดระวังช่องว่างระหว่างพื้นชานชลา และรถไฟฟ้าขณะขึ้น-ลงรถไฟฟ้า
                                        3. กรุณายืนให้ห่างจากบริเวณประตูเข้า-ออกรถไฟฟ้า
                                          4. กรุณานั่งหรือจับราวในขณะรถไฟฟ้าวิ่ง
                                            5. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่บริษัท ฯ อย่างเคร่งครัด
                                              ข้อห้ามในการใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส
                                                1. ห้ามรับประทานอาหาร/เครื่องดื่มในสถานีรถไฟฟ้าและในรถไฟฟ้า
                                                  2. ห้ามเล่นหรือทดลองใช้อุปกรณ์ใด ๆ ที่ติดตั้งในสถานีรถไฟฟ้า
                                                    3. ห้ามยืนพิงประตู
                                                    4. ห้ามลงไปในบริเวณรางรถไฟฟ้า

                                                    รถไฟฟ้า MRT
                                                              รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้า MRT) มีเส้นทางการเดินรถรวมระยะทาง 20 กิโลเมตรเป็นโครงการใต้ดินตลอดสาย มีสถานีทั้งหมด 18 สถานี เริ่มต้นจากบริเวณหน้าสถานี รถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปทางทิศตะวันออกตามแนว ถนนพระราม ที่ 4 ผ่านสามย่าน สวนลุมพินี จนกระทั่งตัดกับ ถนนรัชดาภิเษก เลี้ยวซ้าย ไปทางทิศเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษก ผ่านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แยกอโศก แยกพระรามที่ 9 แยกห้วยขวาง แยกรัชดา – ลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตาม ถนนลาดพร้าว จนถึงปากทางห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพหลโยธิน ผ่านหน้าสวนจตุจักร ตรงไปสิ้นสุดที่บริเวณ สถานีรถไฟบางซื่อ สถานีเป็นสถานีใต้ดินทั้งหมด 18 สถานี ระยะห่างระหว่างสถานี โดยเฉลี่ย 1 กม.

                                                    เวลาให้บริการ
                                                    • ทุกวัน เวลา 6.00-24.00 น.
                                                    • ความถี่ : ชั่วโมงเร่งด่วน 6.00-9.00 น. และ 16.30-19.30 น.ความถี่ไม่เกิน 5 นาทีต่อขบวน ชั่วโมงปกติ ความถี่ไม่เกิน 10 นาทีต่อขบวน
                                                    • จำนวนรถไฟฟ้า MRT วิ่งบริการสูงสุด 19 ขบวน

                                                    ไม่มีความคิดเห็น:

                                                    แสดงความคิดเห็น