วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

คำถาม

1. รถประเภทใดที่ไม่สามารถวิ่งในถนนได้
ก. รถที่มีระยะเสียงแตรได้ยินน้อยกว่า 70 เมตร
ข. รถที่มีเสียงดัง 80 เดซิเบล
ค. รถที่มีคนนั่งแถวหน้าสามคน
ง. รถที่ติดป้ายแดง
จ. รถที่ใช้ในสงคราม

2. ข้อใดเป็นสิ่งที่ผู้ขับรถลงจากทางลาดชันหรือเนินเขาไม่ควรทำ
ก. ไม่เหยียบครัทช์
ข. ใช้เกียร์ต่ำ
ค. ติดเครื่องยนต์
ง. ขับรถชิดขอบด้านขวา
จ. เปิดเสียงเตือน


3. ผู้ขับรถในข้อใดสามารถขับรถได้อย่างไม่ผิดกฏหมาย
ก. ใช้ใบขับขี่ของผู้อื่น
ข. ขับรถโดยไม่มีใบขับขี่
ค. ขับรถที่ยังไม่จดทะเบียน
ง. ใช้ใบขับขี่ของตนขับรถของผู้อื่น
จ. ใช้แผ่นป้ายทะเบียนที่ทำขึ้นเอง

4. การขึ้นรถไฟฟ้าของบุคคลในข้อใดถูกต้องตามกฏและสามารถไปถึงจุดหมายได้
ก. นายแดงต้องการไปเรียนพิเศษที่พญาไท จึงขึ้นรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทเวลา 5.00 น.
ข. สุชัยต้องการไปหาเพื่อนที่ถนนสาทร จึงจะขึ้นรถไฟฟ้าสายสีลม โดยยืนรอรถไฟฟ้าบนเส้นสีเหลือง
ค. สมศรีต้องการไปสะพานควาย จึงขึ้นรถไฟฟ้าสายสีลมโดยนั่งในรถไฟฟ้าอย่างสุภาพ
ง. เดชกลับบ้านที่สนามเป้าโดยขึ้นรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทเวลา 23.00 น.
จ. อุดมซื้อบัตรรถไฟฟ้าไปจตุจักรราคา 40 บาททางตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติโดยใช้ธนบัตรใบละ 20 บาทสองใบ

5. ข้อใดไม่ใช้ในการตัดสินในกีฬาลีลาศ
ก. การทรงตัวของลำตัว
ข. การเคลื่อนไหว
ค. การใช้เท้า
ง. ความพลิ้วไหวของท่อนแขน
จ. จังหวะพื้นฐาน


เฉลย 1.ง   2.ง   3.ง   4.ง   5.ง

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กติกาการแข่งขันลีลาศ



เกณฑ์การตัดสิน การแข่งขันกีฬาลีลาศของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (INTERNATIONAL DANCESPORT FEDERATION) " IDSF"

ข้อในการวินิจฉัย (FIELDS OF ADJUDICATION)

1 เวลาของจังหวะ และพื้นฐานจังหวะ (TIMING AND BASIC RHYTHM)
2 ทรงของลำตัว (BODY LINES)
3 การเคลื่อนไหว (MOVEMENT)
4 การแสดงที่บอกจังหวะ (RHYTHMIC INTERPRETATION)
5 การใช้เท้า (FOOT WORK)
6 การใช้พื้นที่ฟลอร์ (FLOOR CRAFT)

ในการแข่งขันกีฬาลีลาศในแต่ละจังหวะทุกประเภท เวลาของจังหวะและพื้นฐานจังหวะ จะใช้เป็นขั้นตอนแรกที่ใช้ประกอบคำวินิจฉัย ครอบคลุมข้ออื่น ๆ ถ้าคู่แข่งขันทำผิดซ้ำ ๆ กัน ในข้อนี้จะต้องถูกตัดสินให้อยู่ในตำแหน่งที่สุดท้ายในจังหวะนั้น ๆ สำหรับข้อวินิจฉัย 2 ถึง 5 มีความสำคัญเท่า ๆ กัน ซึ่งไม่มีข้อใดที่มีความสำคัญมากไปกว่ากัน


กฎเกณฑ์พื้นฐาน (BASIC RULES)

การวินิจฉัยคู่แข่งขัน จะเริ่มทันทีที่เริ่มเข้าสู่การเตรียมพร้อมที่จะเต้นและสิ้นสุดเมื่อดนตรีหยุด กรรมการตัดสินจะต้องเช็คผลการให้คะแนนที่ได้ให้ไปแล้วทั้งหมด และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ถ้าจำเป็น หากคู่แข่งขันไม่ดำเนินการเต้นอย่างต่อเนื่อง จะถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งสุดท้าย และถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในตอนท้าย คู่แข่งขันจะถูกตัดสินว่าขาดคุณสมบัติ (เป็นโมฆะ)
คู่แข่งขันจะถูกวินิจฉัยในการแสดงและการเต้นแต่ละจังหวะแยกออกจากกัน การเต้นของจังหวะที่ได้ตัดสินไปแล้วนั้นไม่นำมารวมวินิจฉัยกับจังหวะอื่น กรรมการตัดสินอยู่ภายใต้ข้อบังคับ ไม่ให้ชี้แจงเหตุผล ข้อวินิจฉัยของคู่แข่งขันที่ได้ให้ไปแล้ว ระหว่างการแข่งขันหรือเวลาที่หยุดพักช่วงการแข่งขัน กรรมการตัดสินจะไม่วิจารณ์หรือพูดคุยปัญหาต่าง ๆ กับผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น


การอธิบายเกี่ยวกับข้อที่ใช้ประกอบคำวินิจฉัย

1. เวลาและพื้นฐานของจังหวะ (TIMING AND BASIC RHYTHM) ผู้ตัดสินต้องตัดสินว่า คู่แข่งขันเต้นถูกต้องกับจังหวะดนตรี และพื้นฐานของจังหวะหรือไม่ 

การเต้น "ตรงจังหวะ"หมายความถึง การเต้นที่ไม่ ก่อน หรือ หลัง จังหวะดนตรี แต่ ตรง กับจังหวะดนตรี พอดี

พื้นฐานของจังหวะ (BASIC RHYTHM) หมายความถึง การแสดงการเต้นภายในเวลาที่จัดไว้ให้ เช่น (ช้า หรือ เร็ว) และรักษาเวลาความสัมพันธ์ของการเต้นจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่งอย่างต่อเนื่อง

ผลของการเต้นไม่ตรงจังหวะดนตรี และพื้นฐานจังหวะ คู่แข่งขันจะได้คะแนนต่ำสุดในจังหวะที่ทำการเต้นอยู่ การกระทำผิดข้อนี้ ไม่สามารถทดแทนโดยการแสดงที่ดีในข้อประกอบการวินิจฉัยข้อ 2 ถึง 5 ได้

ถ้ามีคู่แข่งขันหลายคู่ เต้นไม่ตรงจังหวะและไม่มีพื้นฐานของจังหวะ ข้อวินิจฉัย 2 ถึง 5 อาจนำมาใช้ประกอบการวินิจฉัยในการจัดอันดับขั้นของคู่แข่งขันเหล่านั้น คู่แข่งขันที่ไม่ทำผิดจังหวะและพื้นฐานของจังหวะ จะถูกจัดอันดับให้อยู่เหนือคู่อื่น

2. ทรงของลำตัว (BODY LINE) ทรงหรือแนวเส้นของลำตัวมีความสัมพันธ์ต่อคู่แข่งขันทั้งสองร่วมกันในระหว่างการเคลื่อนไหว และการทำท่าเต้นต่าง ๆ ของการเต้นในแต่ละจังหวะ
การวินิจฉัยท่าต่าง ๆ เกี่ยวกับทรงของลำตัวมี ดังนี้

A. เส้นแขน (ARM LINE)
B. เส้นหลัง (BACK LINE)
C. เส้นหัวไหล่ (SHOULDER LINE)
D. เส้นสะโพก (HIP LINE)
E. เส้นขา (LEG LINE)
F. เส้นคอและศีรษะ (NECK AND HEAD LINE)
G. เส้นขวาและซ้าย (RIGHT AND LEFT SIDE LINE)

3. การเคลื่อนไหว (MOVEMENT) กรรมการตัดสินจากการเคลื่อนไหวที่รักษาลักษณะหรือเอกลักษณ์ของ จังหวะที่เต้น (CHARATER OF THE DANCE) และพิจารณาจากการขึ้นและลง (RISING AND LOWERING) รวมทั้งการสวิง (SWING) และการทรงตัวที่สมดุลของทั้งคู่ การเต้นที่มีแรงสวิงมากกว่าจะได้คะแนนที่สูงกว่า แต่ต้องประกอบด้วยการทรงตัวที่สมดุล (BALANCE) การเต้นรำในแบบ LATIN AMERICAN การเคลื่อนไหวและการใช้สะโพก (HIP MOVEMENT) จะถูกกำหนดให้เป็นหลักในการประเมิน

4. การแสดงที่บอกจังหวะ (RHYTHMIC INTERPRETATION) กรรมการตัดสินจะประเมินการแสดง ตามจังหวะของการเต้นที่แสดงให้เห็นถึง ศิลปะการออกแบบของกลุ่มสเต็ป (ARTISTIC CHOREOGRAPHY) และดนตรีที่ใช้ประกอบ (MUSICAL INVOLVEMENT) ของทั้งคู่ การเปลี่ยนจังหวะเพื่อให้สอดคล้องกับดนตรีจะต้องระวังความผิดพลาดตามส่วนของ "เวลา และพื้นฐานของจังหวะ (TIMING AND BASIC RHYTHM)

5. การใช้เท้า (FOOT WORK) ผู้ให้การวินิจฉัยจะต้องประเมินจากการใช้ ฝ่าเท้าปุ่มโคนหัวแม่เท้าที่ ถูกต้องรวมถึงการใช้ส้นเท้าและปลายเท้า การเคลื่อนไหวและท่าทางต่าง ๆ เช่นการชิดเท้า และการควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้า

6. การใช้พื้นที่ฟลอร์ (FLOOR CRAFT) ผู้ให้การวินิจฉัยจะต้องประเมินถึงการวางแผนการ ในการใช้กลุ่มฟิกเกอร์ของตัวเองในการหลบหลีกเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและไม่สะดุด รวมถึงการไม่ไปรบกวนคู่เต้นคู่อื่นด้วย


การแบ่งระดับชั้นของผู้เข้าแข่งขัน
ในกลุ่มนักกีฬาลีลาศที่เข้าร่วมการแข่งขัน ถูกแบ่งออกตามอายุ และระบบแบ่งชั้น ถูกจัดให้แล้วแต่ความตกลงใจว่า จะเข้าร่วมในชั้นใด

การแบ่งกลุ่มอายุ (AGE GROUPS)
รุ่นยุวชน (JUVENILES) คือผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุไม่เกิน 11 ปี
รุ่นเด็ก (JUNIORS) คือผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี
รุ่นหนุ่ม/สาว (YOUTHS) คือผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี
รุ่นผู้ใหญ่ (ADULTS) ระดับนี้ยังมีแยกย่อยไปตามกลุ่มอายุได้อีก อาทิเช่น 19 - 35 ปี หรือ 60 ปี

การแบ่งชั้น (GRADING)
แต่ละประเทศจะมีระบบที่แตกต่างกันออกไป แต่ทุกประเภทมีการประเมินการแสดงออกและโปรโมทให้ระดับหรือชั้น สูงขึ้นคำอธิบายข้างล่างให้เป็นระบบการแบ่งชั้นในบางส่วนของยุโรป

คู่แข่งขันเริ่มต้นจากขั้นต่ำที่สุด
ชั้น D หรือ C คู่แข่งขันในระดับนี้ เต้นได้แต่สเต็ปพื้นฐานเท่านั้น
ชั้น A หรือ B การเลื่อนชั้นจะต้องเกิดจากการสะสมคะแนนที่ได้จากการแข่งขัน เพิ่มพูนมา
ชั้น S คู่แข่งขันระดับ (S) สูงสุดถือเป็นมาตรฐานระดับนานาชาติ

การแข่งขันชิงชนะเลิศระดับนานาชาติ (INTERNATIONAL CHAMPIONSHIP) ถูกจัดขึ้นทุกปี และผู้ชนะเลิศในแต่ละชั้นจะถูกจัดให้เลื่อนอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ

ผู้ชนะในระดับสูงสุดจะถูกจารึกให้เป็นผู้ชนะเลิศแห่งชาติ ระดับชั้นของการลีลาศแต่ละแบบจะไม่มีผลต่อการเลื่อนชั้นของแบบอื่น
ระบบการพิจารณา ตรวจเทียบคะแนน (SKATING SYSTEM)ของการแข่งขันกีฬาลีลาศ
ระบบมาตรฐานของการให้คะแนนและการวิเคราะห์คะแนนมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการแข่งขันกีฬาลีลาศ สภารัฐบาลนานาชาติซึ่งควบคุมการแข่งขันของนักกีฬาลีลาศทั้งของอาชีพและสมัครเล่น ระบุว่าควรใช้ระบบสะเก็ตติ้ง (SKATING SYSTEM) พื้นฐานของระบบ คือการใช้เสียงส่วนใหญ่เป็นหลัก (MAJORITY) และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกีฬา สเก็ตน้ำแข็ง

คะแนนตัดสินจากคณะกรรมการ จะถูกผ่านไปให้ คณะผู้ให้การพิจารณาตรวจเทียบคะแนน เพื่อจัดอันดับของผู้เข้าแข่งขันให้สมบูรณ์ต้องมีความระมัดระวัง เพราะไม่ใช้เป็นการตรวจเพียงครั้งเดียว เนื่องจากการมีคณะกรรมการหลายคน ซึ่งแต่ละคนต่างใช้วิจารณญานของตนเอง จึงเกิดให้มีความเห็นที่แตกต่าง จึงมีความเห็นแตกต่างของผู้ตัดสิน รวมทั้งอาจมีคะแนนที่เท่ากัน ซึ่งต้องใช้รายละเอียดของระบบสะเก็ตติ้งเป็นข้อวินิจฉัย ข้อเรียกร้องพิเศษของการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ IDSF ถือในรอบสุดท้าย "FINAL ROUND"คะแนนจะต้องเปิดเผย (VISAUL MARKING)

การใช้บริการรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้า BTS
แนวเส้นทาง

สายสุขุมวิท
 เริ่มจากบริเวณสุขุมวิท81 ผ่านถนนสุขุมวิทถนนเพลินจิตถนนพระราม 1ถนนพญาไทอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สนามเป้าสะพานควายจตุจักรไปสิ้นสุดบริเวณสถานีขนส่งสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ตลาดหมอชิต) รวมระยะทางประมาณ17 กิโลเมตรมีสถานีจำนวน 17 แห่ง รวมสถานีร่วม สำหรับเปลี่ยนสายบนถนนพระราม 1
สายสีลม เริ่มจากเชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน(สะพานสาธร) ฝั่งกรุงเทพ ฯถนนสาทร- ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ถนนเลียบคลองช่องนนทรี)ถนนสีลมถนนราชดำริ - ถนนพระราม 1 ไปสิ้นสุดบริเวณหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ6.5 กิโลเมตรมีสถานีจำนวน 7 แห่งรวมสถานีร่วม
ลักษณะของระบบ
    เป็นรถขนส่งมวลชนความจุสูงแบบมาตรฐาน ที่ใช้กันแพร่หลายในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วไป ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนวิ่งบนรางคู่ยกระดับความกว้างราง 1.435 เมตร(Standard guage)แยกทิศทางไปและกลับ
    มีรางป้อนกระแสไฟฟ้าอยู่ด้านข้าง (Third Rail System) ซึ่งมีความปลอดภัยสูงและไม่มีผลกระทบต่อทัศนียภาพระบบที่ใช้นี้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมีความคล่องตัวสูงและสามารถขยายระบบได้ มีความจุมากกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อ ทิศทาง การควบคุมใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัย เช่นระบบป้องกันการชนระบบควบคุมความเร็วเป็นต้น
      สถานี
        สถานีรับ - ส่งผู้โดยสารออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาผิวจราจรบนถนนมากที่สุดโดยทั่วไปออกแบบให้มีโครงสร้างแบบเสาเดี่ยวตั้งอยู่บนเกาะกลางถนน เช่นเดียวกับโครงสร้างทางวิ่งโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 150 เมตรมี 2 ลักษณะ คือ
          1 ) สถานีประเภทมีชานชลาอยู่สองข้าง ( Side Platform Station ) โดยรถไฟวิ่งอยู่ตรงกลางสถานี สถานีทั่วไปได้ออกแบบให้มีลักษณะแบบนี้ เนื่องจากสร้างได้รวดเร็ว และใช้เนื้อที่น้อย
          2 ) สถานีประเภทมีชานชลาอยู่ตรงกลาง( CentrePlatformStation ) รถไฟวิ่งอยู่สองข้างสถานี ชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบแรกแต่การก่อสร้างยุ่งยากกว่าเนื่องจากตัวรางต้องเบนออกจากกัน เมื่อเข้าสู่สถานี ทั้งนี้ ได้ออกแบบให้สถานีร่วมมีลักษณะแบบนี้ เนื่องจากคาดว่าจะมี ผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก
            ชนิดและวิธีการซื้อตั๋วโดยสารรถไฟฟ้า

            1. ตั๋วแบบเที่ยวเดียว(Single-JourneyTicket) ซึ่งเป็นตั๋วที่ใช้เดินทางเพียงครั้งเดียวมูลค่าของตั๋วจะเท่ากับค่าโดยสารในแต่ละเที่ยวที่เดินทาง
              2. ตั๋วแบบสะสมมูลค่า (Stored-Value Ticket) ซึ่งเป็นตั๋วที่ใช้เดินทางได้หลายครั้ง โดยมูลค่าของตั๋วจะถูกหักไปเรื่อย ๆ ตามค่าโดยสารที่เดินทางจนกว่ามูลค่าของตั๋วจะหมด ตั๋วประเภทนี้สามารถนำมาเติมมูลค่าได้อีกที่ห้องจำหน่ายตั๋ว
                วิธีการซื้อตั๋วโดยสาร
                  1. ตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (Ticket Issuing Machine : TIM ) ใช้ซื้อตั๋วแบบเที่ยวเดียวการชำระเงิน จะใช้เฉพาะเหรียญเท่านั้น
                    2. เจ้าหน้าที่ห้องจำหน่ายตั๋วให้บริการขายตั๋วแบบสะสม มูลค่าและ ให้บริการแลกเหรียญเพื่อใช้ซื้อตั๋วแบบเที่ยวเดียวจากตู้อัตโนมัติ
                      ขั้นตอนการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส
                        1. ซื้อตั๋วจากตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ หรือจากห้องจำหน่ายตั๋ว
                          2.เมื่อได้ตั๋วแล้วผู้โดยสารก็จะเดินผ่านช่องทางเข้า (Entry Gate)โดยจะต้องป้อนตั๋วผ่านเข้าประตูอัตโนมัติ เมื่อเครื่องตรวจสอบว่าตั๋วถูกต้องประตูจะเปิด และอย่าลืมรับตั๋วคืนจากเครื่องก่อนเดินเข้าประตูไป เก็บตั๋วโดยสารไว้กับตัวตลอดเวลา เพื่อใช้เป็นบัตรผ่านเมื่อถึงปลายทาง
                            3. เมื่อผู้โดยสารถึงสถานีที่ต้องการแล้ว ผู้โดยสารจะผ่านออกที่ช่องทางออก(Exit Gate) โดยป้อนตั๋วเดิมผ่านเข้าประตูอัตโนมัติ ในกรณีที่เป็นตั๋วแบบเที่ยวเดียว(Single-JourneyTicket)ที่ซื้อตรงตามราคาค่าโดยสารประตูจะเปิดออกได้เลยและเครื่องจะเก็บตั๋วคืน แต่ถ้าเป็นตั๋วแบบสะสมมูลค่า(Stored-Value Ticket) เครื่องจะทำการหักค่าโดยสารพร้อมแสดงจำนวนมูลค่าเงินที่เหลืออยู่ในตั๋วใบนั้น แล้วคืนตั๋ว ให้ก่อนเดินออกจากประตู ซึ่งตั๋วนี้สามารถเก็บไว้ใช้ครั้งต่อ ๆ ไปได้
                              เวลาเปิดบริการ
                                รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา06.00 น. -24.00 น.
                                  ข้อควรปฏิบัติในการใช้รถไฟฟ้าBTS
                                    1. ขณะรอรถไฟฟ้าบนชานชลา กรุณายืนหลังเส้นเหลือง
                                      2. กรุณาระมัดระวังช่องว่างระหว่างพื้นชานชลา และรถไฟฟ้าขณะขึ้น-ลงรถไฟฟ้า
                                        3. กรุณายืนให้ห่างจากบริเวณประตูเข้า-ออกรถไฟฟ้า
                                          4. กรุณานั่งหรือจับราวในขณะรถไฟฟ้าวิ่ง
                                            5. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่บริษัท ฯ อย่างเคร่งครัด
                                              ข้อห้ามในการใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส
                                                1. ห้ามรับประทานอาหาร/เครื่องดื่มในสถานีรถไฟฟ้าและในรถไฟฟ้า
                                                  2. ห้ามเล่นหรือทดลองใช้อุปกรณ์ใด ๆ ที่ติดตั้งในสถานีรถไฟฟ้า
                                                    3. ห้ามยืนพิงประตู
                                                    4. ห้ามลงไปในบริเวณรางรถไฟฟ้า

                                                    รถไฟฟ้า MRT
                                                              รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้า MRT) มีเส้นทางการเดินรถรวมระยะทาง 20 กิโลเมตรเป็นโครงการใต้ดินตลอดสาย มีสถานีทั้งหมด 18 สถานี เริ่มต้นจากบริเวณหน้าสถานี รถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปทางทิศตะวันออกตามแนว ถนนพระราม ที่ 4 ผ่านสามย่าน สวนลุมพินี จนกระทั่งตัดกับ ถนนรัชดาภิเษก เลี้ยวซ้าย ไปทางทิศเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษก ผ่านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แยกอโศก แยกพระรามที่ 9 แยกห้วยขวาง แยกรัชดา – ลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตาม ถนนลาดพร้าว จนถึงปากทางห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพหลโยธิน ผ่านหน้าสวนจตุจักร ตรงไปสิ้นสุดที่บริเวณ สถานีรถไฟบางซื่อ สถานีเป็นสถานีใต้ดินทั้งหมด 18 สถานี ระยะห่างระหว่างสถานี โดยเฉลี่ย 1 กม.

                                                    เวลาให้บริการ
                                                    • ทุกวัน เวลา 6.00-24.00 น.
                                                    • ความถี่ : ชั่วโมงเร่งด่วน 6.00-9.00 น. และ 16.30-19.30 น.ความถี่ไม่เกิน 5 นาทีต่อขบวน ชั่วโมงปกติ ความถี่ไม่เกิน 10 นาทีต่อขบวน
                                                    • จำนวนรถไฟฟ้า MRT วิ่งบริการสูงสุด 19 ขบวน

                                                    การจราจร

                                                    สัญญาณไฟจราจร
                                                         สัญญาณไฟจราจรโดยทั่วไปประกอบด้วยสัญญาณไฟสามสี ติดตั้งตามทางแยกต่างเพื่อควบคุมการจราจรตามทางแยก โดยทั้งสามสี ได้แก่ สีแดงให้รถหยุด สีเหลืองให้รถระวัง เตรียมหยุด และสีเขียวคือให้รถไปได้ สำหรับสัญญาณไฟจราจรพิเศษอาจมีสีเหลืองเพียงสีเดียวจะกระพริบอยู่ ใช้สำหรับทางแยกที่ไม่พลุกพล่านหมายถึง ให้ระมัดระวังว่ามีทางแยก และดูความเหมาะสมในการออกรถได้เอง หรือ สัญญาณไฟจราจรสำหรับการข้ามถนน หรือ สัญญาณไฟจราจรไว้สำหรับเปลี่ยนเลน เป็นต้น

                                                    ป้ายจราจร
                                                         ป้ายจราจรเป็นป้ายทางการควบคุมการจราจร แบ่งออกเป็น 3ประเภท
                                                    1.ป้ายบังคับ มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีแดง เป็นป้ายกำหนด ต้องทำตาม เช่น ห้ามเลี้ยวขวา
                                                    2.ป้ายเตือน มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีดำ จะเป็นป้ายแจ้งเตือนว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้k
                                                    3.ป้ายแนะนำ เป็นป้ายที่แนะนำการเดินทางต่างๆ อาทิ ทางลัด ป้ายบอกระยะทาง เป็นต้น



                                                    ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร

                                                    ข้อความ "หยุด" บนผิวทางจราจร
                                                    เมื่อปรากฎข้อความอยู่ในช่องจราจรใด หมายความว่าให้ผุ้ขับรถในช่องจราจรนั้นปฏิบัติตามความหมายเช่นเดียวดับป้าย "หยุด"

                                                    รถที่ห้ามนำมาใช้ในทาง 
                                                    1.  รถที่มีสภาพที่ไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือ เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน เช่น มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุดรถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด รถที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทาง ราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น
                                                    2.  รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรื เครื่องหมายอื่น ๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้อกับรถกำหนดอ
                                                    3.  รถที่มีเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
                                                    4.  รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงคราหรือรถที่ใช้ใน ราชการตำรวจ
                                                    5.  รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะน้อยกว่า 60 เมตร
                                                    6.  รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน (แถวด้านหน้าห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคน ขับด้วย)
                                                    7.  รถที่ได้เสียภาษีประจำปี
                                                    8.  รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง

                                                    ในการขับรถสวนทางกัน 
                                                    1.  ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถหรือเส้นหรือแนวที่ แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก
                                                    2.  ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละผ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย
                                                    3.  ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบ ทางด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน
                                                    4.  กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่วนทางขับผ่านมาก่อน

                                                    การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง 
                                                          ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถที่สวนมาหากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่ขับสนทางรถขับผ่านมาก่อน ในการขับรถผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล่ำกึ่งกลางของทางเดินรถเว้นแต่กรณีต่อไปนี้ ที่ผู้ขับขี่สามารถขับล้ำกึ่งกลางขอทางเดินรถหรือขับเข้าไปในทางเดินรถด้านขวาได้
                                                    1.  ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร
                                                    2.  ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
                                                    3.  ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร

                                                    กรณีที่มีช่องทางเดินรถตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป ผู้ขับขี่ที่ต้องขับรถชิดทางด้านซ้ายสุด คือ
                                                    1.  ผู้ขับขี่รถที่มีความเร็วช้า หรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ที่ขับรถในทิศทางเดียวกัน
                                                    2.  ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ ยกเว้น กรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางให้ขับรถในช่องทางเดินรถด้าน ซ้ายสุดที่ติดกับช่องทางเดินรถประจำทาง

                                                    เมื่อผู้ขับขี่รถลงจากทางลาดชันหรือภูเขา
                                                    1.  ห้ามใช้เกียร์ว่าง
                                                    2.  ห้ามเหยียบคลัทซ์
                                                    3.  ห้าใช้เบรคตลอดเวลา
                                                    4.  ห้ามดับเครื่องยนต์
                                                    5.  ใช้เกียร์ต่ำ
                                                    6.  ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย
                                                    7.  ให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่อาจสวนทางมา 

                                                    ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย

                                                    การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่เป็นทางเอกตัดกันและไม่ปรากฎสัญญา หรือเครื่องหมายจราจร
                                                    1.  ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นขับผ่านไปก่อน
                                                    2.  ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของคนขับผ่านไป ก่อน

                                                    กำหนดความเร็วของรถในกรณีปกติ 
                                                    1.  ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
                                                    2.  นอกเขตตามข้อ 1 ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

                                                    ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสาร คือ
                                                    1.  ใบอนุญาตขับรถ
                                                    2.  สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ

                                                    การใช้ไฟสัญญาณและสัญญาณมือของผู้ขับขี่ กรณีที่ต้องการจะเลี้ยวรถ
                                                    1.  สัญญาณไฟให้สัญญาณไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและหลังในทิศทางที่จะเลี้ยว
                                                    2.  สัญญาณมือ  
                                                         - เลี้ยวขวาให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอไหล่
                                                         - เลี้ยวซ้ายให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอไหล่และงอมือชูขึ้นโบกไปทางซ้าย หลายครั้ง 
                                                    3.  การให้สัญญาณตามข้อ 1 และ 2 ต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันอื่น  เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร

                                                    เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย "เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด" 
                                                          ให้ผู้ขับขี่หยุดให้ทางแก่รถที่กำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านขวาและให้ทางแก่รถที่เลี้ยวขวาก่อนจึงจะเลียวซ้ายผ่านไปได้
                                                    ในการเลี้ยวรถผู้ขับขี่จะต้องขับรถในช่องทางเดินรถที่ต้องการจะเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30  เมตร

                                                    บริเวณที่ห้ามกลับรถ
                                                    1.  ในทางเดินรถที่สวนทางกันได้ห้ามกลับรถในขณะที่มีรถอื่นสวนทางมาหรือตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร
                                                    2.  ในเขตปลอดภัยหรือคับขัน
                                                    3.  บนสะพานหรือในระยะ 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
                                                    4.  บริเวณทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้กลับรถได้
                                                    5.  บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ

                                                    บริเวณที่ห้ามแซง
                                                    1.  ห้ามแซงด้านซ้าย เว้นแต่
                                                         - รถที่ถูกแซมกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณจะเลี้ยวขวา
                                                         -  ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่อทางเดินรถในทิศทางเดี่ยวกันตั้งแต่ 2 ช่อทางขึ้นไป
                                                    2.  ห้ามแซงเมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ใกล้ทางโค้งเว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
                                                    3.  ห้ามแซมภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้หรือทางเดินรถที่ตัดข้าทางรถไฟ
                                                    4.  ห้ามแซมเมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควัน จะทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างได้ในระยะ 60 เมตร
                                                    5.  ห้ามแซงเมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
                                                    6.  ห้ามแซมล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง
                                                    7.  ห้ามแซมในบริเวณที่มีเส้นแบ่งช่องการเดินรถเป็นเส้นทึบ

                                                    ห้ามขับขี่รถ
                                                    1.  ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ เช่น ภายหลังจากรับประทานยาแก้ไข้หวัดในขณะง่วงนอน
                                                    2.  ในขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น 
                                                    3.  ในลักษณะกีดขวางการจราจร
                                                    4.  โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
                                                    5.  ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธีรรมดาหรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสอง ด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
                                                    6.  คล่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องรถ เว้นแต่เมื่อต้องการเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
                                                    7.  บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารกคนป่วย หรือคนพิการ
                                                    8.  โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
                                                    9.  ในขณะที่เสพ หรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่น (ยาบ้า)
                                                    10.ขับรถโดยที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ
                                                    11.ขับรถบนไหล่ทาง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร
                                                    12.ใช้ไฟฉุกเฉินขณะขับรถตรงไปเพื่อผ่านทางร่วมทางแยก
                                                    13.ขับรถแข่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร 

                                                    ในขณะที่ขับรถ ถ้าท่านเกิดอาการง่วงนอนควรจอดรถและพักผ่อนก่อนออกเดินทางต่อไป

                                                    ข้อห้ามของผู้ขับรถ
                                                    1.  ห้ามอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถขับรถของตน
                                                    2.  ห้ามใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่จัดทำขึ้นเอง
                                                    3.  ห้าให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตขับรถของตน
                                                    4.  ห้ามใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน

                                                    เมื่อผู้ขับขี่ต้องการจะจอดรถ
                                                    1.  ให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือสัญญาณไฟ (สัญญาณชะลอรถและยกเลี้ยว) ก่อนที่จะหยุดหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร
                                                    2.  หยุดหรือจอดรถได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่กีดขวางการจราจร
                                                    3.  จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และขนานกับขอบทางหรือไหล่ทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร (เว้นแต่เป็นทางเดินรถทางเดียวและ เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้จอดรถในทางเดินรถด้านขวาได้)
                                                    4.  ห้ามจอดในช่องทางเดินรถประจำทางในเวลาที่กำหนดให้เป็นช่องทางเดินรถประจำทาง

                                                    บริเวณที่ห้ามจอดรถ
                                                    1.  บนทางเท้า
                                                    2.  บนสะดานหรือในอุโมงค์
                                                    3.  ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
                                                    4.  ในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
                                                    5.  บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอดรถ
                                                    6.  ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
                                                    7.  ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
                                                    8.  ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
                                                    9.  จอดรถซ้อนกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อน (จอดรถซ้อนคัน)
                                                    10.บริเวณปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
                                                    11.ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจาปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้ง 2 ข้าง
                                                    12.ในที่คับขัน
                                                    13.ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงบริเวณที่ติดตั้งป้ายหยุดรถประจำทาง และเลยไปอีก 3 เมตร
                                                    14.ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
                                                    15.ในลักษณะกีดขวางการจราจร
                                                    16.จอดรถทางด้านขวาในกรณีที่เป็นทางเดินรถุสวนทางกัน

                                                    การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาด หรือชัน ผู้ขับขี่จะต้องจอดรถโดยหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง

                                                    ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถ หรือไหล่ทางในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่อื่นสามารถเห็นรถที่จอดได้ชัดเจนไม่น้อยกว่าระยะ 150 เมตร ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟส่องสว่างโดยใช้โคมไปเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ

                                                    บริเวณที่ห้ามผู้ขับขี่หยุดรถ
                                                    1.  ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
                                                    2.  บนทางเท้า
                                                    3.  บนสะพานหรือในอุโมงค์
                                                    4.  ในทางร่วมทางแยก
                                                    5.  ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
                                                    6.  ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
                                                    7.  ในเขตปลอดภัย
                                                    8.  ในลักษณะกีดขงวางการจราจร

                                                    การให้สัญญาณด้วยมือและแขนของผู้ขับขี่
                                                    1.  เมื่อจะลดความเร็วของรถให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
                                                    2.  เมื่อหยุดรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น
                                                    3.  เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือไปทางข้างหน้าหลาย ครั้ง
                                                    4.  เมื่อจะเลี้ยวขวา หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
                                                    5.  เมื่อจะเลี้ยวซ้าย หรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง

                                                    ผู้ขับขี่จะต้องใช้ไฟแสงสว่าง (ไฟหน้าและไฟท้าย)
                                                    ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็น รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร

                                                    การใช้เสียงสัญญาณ
                                                    ใช้เสียงแตรที่ได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห้าใช้เสียงสัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่อธิบดีกำหนด และให้ผู้ขับขี่ใช้เสียงสัญญาณได้เฉพาะเมื่อจำเป็น หรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น และห้าใช้เสียงยาว หรือช้ำเกินควรแก่ความจำเป็น

                                                    การบรรทุกของ
                                                    1.  ความกว้าง ได้ไม่เกินส่วนกว้างของรถ
                                                    2.  ความยาว 
                                                         -  ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อรถ
                                                         - ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.50 เมตร
                                                    3.  ความสูง  กรณีรถบรรทุกให้บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร แต่ถ้ารถมีความกว้างของรถเกินกว่า 2.30 เมตร ให้ บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80 เมตร
                                                    4.  ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันคน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่อน รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อให้ เกิดเหตุเดือนร้อน รำคาญทำให้สกปรกเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยหรือ 
                                                    ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนหรือทรัพย์สิน

                                                    กรณีที่บรรทุกของยื่นเกินกว่าความยาวของตัวรถ
                                                    1.  ในเวลากลางวันติดธงสีแดงเรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาง 45 เซนติเมตร
                                                    2.  ในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจนสนระยะ     150  เมตร

                                                    เมื่อผู้ขับขี่พบรถฉุกเฉิน
                                                    1.  หยุดรถ หรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ถ้ามีช่องทางเดินรถประจำทางให้หยุดชิดกับช่องทางเดินรถประจำทาง แต่ห้าม หยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
                                                    2.  ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร

                                                    ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง (รถเสีย) 
                                                    1.  นำรถให้พ้นจากทางเดินรถโดยเร็วที่สุด
                                                    2.  ถ้าจำเป็นต้องจอดในทางเดินรถจะต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรและแสดงเครื่องหมายดังนี้
                                                         2.1  ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลให้ใช้สัญญาณไฟกะพริบสีเหลืองอัน สีแดง หรือสีขาวที่ติดอยู่ด้านหน้าและท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา (ไฟฉุกเฉิน) หรือติดตั้งป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ      
                                                         2.2  นอกเขต 2.1 ให้แสดงเครื่องหมายป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ โดยห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตรและให้สัญญาณไฟกระพริบ (ไฟฉุกเฉิน) ในเวลาที่มองเห็นไม่ชัดเจรน แสงสว่างไม่เพียงพอและจอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง 
                                                             

                                                    การลากจูงรถ
                                                    1.  การลากจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วียกหน้าหรือท้ายรถที่ถูกลากจูง
                                                    2.  การลากจูงรถที่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อได้ ให้ใช้วิธีตามข้อ 1 หรือใช้สายพ่วงที่มีความยาวจากส่วนหน้าสุดของรถที่ ถูกลากหรือจูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร 
                                                    3.  ห้ามลากหรือจูงรถเกินกว่า 1 คัน

                                                       

                                                    คณะผู้จัดทำ

                                                    รายวิชา พ 30106 พลานามัย



                                                    จัดทำโดย
                                                    1. นางสาวขวัญชนก โล่ห์สุวรัตน์        ม.6/10 เลขที่ 1
                                                    2. นางสาวธิดารัตน์   จันท์จเริญวงษ์   ม.6/10 เลขที่ 6
                                                    3. นายวัฒนา            ชัยประเสริฐ       ม.6/10 เลขที่ 20
                                                    4. นายศราวัชร          ร่วมเงิน             ม.6/10 เลขที่ 21

                                                    อาจารย์ผู้สอน
                                                    อาจารย์จัตวา   อรจุล

                                                    ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554

                                                    โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์